แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฏีคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนแบบร่วมมือ


แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร่วมมือ

       คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร่วมมือเป็นระบบที่ได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนา และส่งเสริมสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ให้สำเร็จ ร่วมกับพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ผู้เรียนสามารถเลือกรูปแบบการใช้งานที่หลากหลายได้ เช่น ข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง Scardamalia, and Bereiter (1994) ผ่านเทคโนโลยีทางการสื่อสารที่ทันสมัย ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่เป็นวิธีการเรียนการสอนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนทำงานร่วมกัน ช่วยกันแก้ไขปัญหา และยังเกี่ยวข้องกับการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ร่วมกัน เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนรูปแบบเดิมที่ผู้เรียนเป็นเพียงแต่ผู้รับอย่างเดียว (Zhao และคณะ 2001)
       ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร่วมมือมีด้วยกันหลายทฤษฎี ดังนี้ (Spiro และคณะ 1988) ทฤษฎี Vygotsky’s sociocultural theory, constructivism Theory, Problem-based learning, Self-Regulated learning and Metacognition เป็นต้น ทฤษฏีเหล่านี้อยู่บนพื้นฐานที่ว่าบุคคลทุกคนเป็นผู้ที่ต้องมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ต้องแสวงหา และกระตือรือร้น มิใช่เพียงแค่รับความรู้จากสอนอย่างเดียว เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิด ทำ และแก้ปัญหาในเรื่องที่ตนมีความสนใจ และยังสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย โดยการสร้างบรรยากาศของความร่วมมือและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
       Naidu และ Oliver (1996) ได้เริ่มนำ Computer-supported collaborative learning ,มาใช้ในรูปแบบการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) โดยนำมาใช้บนเว็บไซต์และมีผู้พัฒนาโมเดล ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
1. นำเสนอปัญหาในระบบ Computer-Supported collabolative learning Environment ขั้นตอนเริ่มจากการนำเสนอปัญหาโดยใช้กรณีศึกษาหรือเรื่องราวสั้นๆที่สามารถเสนอผ่านทางเครือข่ายได้ โดยระบุถึงสถานการณ์ที่ผู้เรียนกำลังเผชิญหรือเงื่อนไขบางอย่างและอธิบายวิธีการเรียนรู้ และสิ่งที่ผู้เรียนต้องทำ
2. ผู้เรียนแต่ละคนวิเคราะห์ปัญหาตนเอง และพยายามหาคำอธิบายความเป็นไปของปัญหา แล้วนำข้อมูลมาโพสไว้ในเครือข่าย
3. ผู้เรียนทำการพิจารณาถึงปัญหาและแนวทางที่ตนได้เสนอไว้ในเว็บไซด์ ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อมูลอื่นๆ ที่มีคนโพสไว้ ผู้เรียนจะรู้ตนเองว่าทราบสิ่งใด และไม่ทราบสิ่งใด จากนั้นจะทำการค้นคว้าด้วยตนเองต่อไป
4. เมื่อผู้เรียนแต่ละคนได้ทำการศึกษาและเขียนผลแล้ว จะนำไปไว้ใน CSCLE เพื่อให้กลุ่มเข้าถึงได้
5. ผู้เรียนทำการอภิปราย วิพากษ์ สิ่งที่แต่ละคนได้โพสไว้ครั้งล่าสุด โดยผ่านทาง
CSCLE โดยการนำไปใช้จริงในแต่ละหัวข้อของรายวิชา อาจต้องมีการค่อยๆ เปิดเผยประสบการณ์เรียนรู้ออกตามช่วงเวลาที่กำหนด



ทฤษฎี ๔ L กับการเรียนรู้ โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์
          1. การเข้าใจวิธีการเรียนรู้ (
Learning Methodology) คือ การกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจมีส่วนร่วมโต้ตอบ วิธีการเรียนรู้ออกแบบใหม่เน้นการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น การทำ Assignment โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และมัลติมีเดีย
          2. การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ (
Learning  Environment ) คือ การสร้างให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการแสวงหาความรู้ร่วมกัน อาจจัดห้องเป็น U-Shape เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมเกิดความสนุกสนาน มีความสนใจ และมีส่วนร่วม ให้ผู้เรียนรู้สึกผ่อนคลายจากความเครียด มีมุมกาแฟและหนังสือดี ๆ มีมุมอินเทอร์เน็ตในการรับ - ส่ง e-mail และการ Search หาข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยที่จะเน้นปรัชญาการศึกษาแบบการเป็นโค้ช/พี่เลี้ยง ผู้อำนวยความสะดวก และการเป็นที่ปรึกษา/พี่เลี้ยง เพราะบรรยากาศของการหาความรู้ที่ดีนั้นจะนำไปสู่ Creativity ทั้งนี้บรรยากาศการเรียนรู้จะต้องเน้นมาตรฐานในระดับสากล
          3. สร้างโอกาสในการเรียนรู้ (Learning  Opportunity)  คือ โอกาสที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้เมื่อได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งโอกาสในการได้เรียนรู้และร่วมหารือกับวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะสามารถสร้างโอกาสสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กันแก่กัน
          4. สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Learning  Communities) คือ การสร้างชุมชนในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นโดยใช้ห้องเรียนเป็นจุดเริ่มต้น และขยายผลต่อไปในวงกว้าง เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ขึ้น ชุมชนโดยทั่วไปเป็นชุมชนแบบ Physical Community เมื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้นจะเกิดชุมชนแบบ Digital สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลาทางอินเทอร์เน็ต อีเมล์ การโทรศัพท์ สื่อสารกัน วิธีการเรียน เน้นการเรียนเป็นทีม การทำ workshop การทำการบ้าน และการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากกรณีที่เกิดขึ้นจริง




 

เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือบน E-Learning (ออนไลน์). สืบค้นจาก
          http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=14719&Key=news15 
          [15 มีนาคม 2562]
ศิวนิต  อรรถวุฒิกุล. (2551). การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุน
การเรียนรู้อย่างร่วมมือตามแนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อสร้างพฤติกรรมการสร้าง
ความรู้ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา.
 วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Allison Rossett. (2002). THE ASTD E-LEARNING HANDBOOK BEST PRACTICES,
           STRATEGIES, AND CASE STUDIES FOR AN EMERGING FIELD
 (Online). Available :
            http://books.mhprofessional.com/authors/rossett/book.htm [2019, March 15]
Innovative learning. (2015). Computer-Supported Collaborative Learning (CSCL)                 (Online). Available : https://www.innovativelearning.com/teaching/cscl.html
                [2019, march 15]
Stahl, G., Koschmann, T., & Suthers, D. (2006). Computer-supported collaborative 
             learning: An historical perspective (online). Available :  
              http://gerrystahl.net/cscl/CSCL_English.pdf [2019, march 15]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อยากรู้จักและอยากจะทักทาย

สวัสดีผู้เยี่ยมชมทุกท่านครับ :)               ก่อนอื่นขอแนะนำตัวก่อนนะครับ เราสองคน แบงค์ กับเมย์ เป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิ...