ประโยชน์ที่ได้จากการใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนแบบร่วมมือ



ประโยชน์ที่ได้จากการใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร่วมมือ

       คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร่วมมือ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้เก่าเพื่อนำมาใช้ในสภาพแวดล้อมใหม่ ช่วยในการแก้ปัญหาสถานการณ์จริง เป็นแนวคิดหนึ่งที่นำกลุ่มผู้เรียนมาทำงานและเรียนรู้ร่วมกันผ่านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์นอกจากคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร่วมมือจะช่วยลดข้อจำกัดในเรื่องเวลา และสถานที่ได้แล้ว ยังจะช่วยขจัดปัญหาเรื่องของความจำของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างจำกัด เพราะคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร่วมมือได้มีการจัดเตรียมแหล่งทรัพยากรเรียนรู้ไว้ได้ในหลายรูปแบบ เพื่อที่จะเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี แสดงให้เห็นว่า การเรียนรู้แบบคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร่วมมือนั้นเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ 
โดยเฉพาะในกรณีที่มีการแบ่งหน้าที่อย่างมีระบบและมีการให้รางวัลตอบแทน และการเรียนรู้นั้นเป็นไปอย่างมีระบบขั้นตอน ทฤษฎีของการเรียนรู้แบบสนับสนุนความร่วมมือนั้นตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า การเสริมสร้างความรู้นั้นแท้ที่จริงแล้วเป็นกิจกรรมทางสังคมอย่างหนึ่งและการเรียนรู้ระดับสูงและซับซ้อนนั้นจำเป็นต้องมีการสนับสนุนความร่วมมือที่ดีเพียงพอ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว การให้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้แบบสนับสนุนความร่วมมือนั้นจะสามารถให้ประโยชน์เพิ่มเติมได้อย่างไร

          คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร่วมมือเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม กระบวนการเรียนการสอน และช่องทางที่จะทำให้ผู้เรียนได้มาร่วมมือกัน ผ่านการออกแบบโดยใช้เครื่องมือต่างๆ ที่สนับสนุนผ่านทางคอมพิวเตอร์


เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือบน E-Learning (ออนไลน์). สืบค้นจาก
          http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=14719&Key=news15 
          [15 มีนาคม 2562]
ศิวนิต  อรรถวุฒิกุล. (2551). การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุน
การเรียนรู้อย่างร่วมมือตามแนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อสร้างพฤติกรรมการสร้าง
ความรู้ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา.
 วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Allison Rossett. (2002). THE ASTD E-LEARNING HANDBOOK BEST PRACTICES,
           STRATEGIES, AND CASE STUDIES FOR AN EMERGING FIELD
 (Online). Available :
            http://books.mhprofessional.com/authors/rossett/book.htm [2019, March 15]
Innovative learning. (2015). Computer-Supported Collaborative Learning (CSCL)                 (Online). Available : https://www.innovativelearning.com/teaching/cscl.html
                [2019, march 15]
Stahl, G., Koschmann, T., & Suthers, D. (2006). Computer-supported collaborative 
             learning: An historical perspective (online). Available :  
              http://gerrystahl.net/cscl/CSCL_English.pdf [2019, march 15]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อยากรู้จักและอยากจะทักทาย

สวัสดีผู้เยี่ยมชมทุกท่านครับ :)               ก่อนอื่นขอแนะนำตัวก่อนนะครับ เราสองคน แบงค์ กับเมย์ เป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิ...